หจก. เมเจอร์แคร์
  • th

วิธีการซักพรมและข้อดีข้อเสีย


วิธีการซักพรมและข้อดีข้อเสีย

ข้อดีข้อเสียของการซักพรมแต่ละระบบ 

     เมื่อคุณต้องการซักพรม ผู้คนส่วนใหญ่มักจะเกิดการสับสนเนื่องจากมีผู้ให้บริการและราคาให้เลือกมากมายเพียงชื่อ ซักพรมเหมือนๆกัน ทุกรายมักอ้างว่าระบบของตัวเองดี หากราคาไม่ใช่ปัญหา แล้วมองออกไปว่าทั่วโลกเขาซักพรมกันอย่างไร วิธีไหนดีที่สุดแล้วค่อยมาดูเรื่องราคา เป็นเรื่อง่ายมากในพ.ศ.นี้แค่คลิกเขาไปในอินเตอร์เน็ตก็รู้ได้เกือบทุกอย่าง ข้อความต่อไปนี้ส่วนหนึ่งค้นมาจากอินเตอร์เน็ตและบางส่วนได้ประสพการณ์จากการทำงานมากกว่า20ปีบางส่วนได้รับการอบรมจากผู้ผลิตน้ำยาทำความสะอาดชั้นนำของโลก The Butcher Polish, co. Boston massachusets u.s.a.จึงสรุปได้ไม่อยากเพราะทุกอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ที่ทุกคนสามารถพิสูจน์ได้ เครื่องซักพรมที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกขณะนี้มีดังนี้

 

1. Rotery shampoo (ซักเปียก) 

   คือการเอาเครื่องขัดพื้นที่แม่บ้านใช้กันอยู่ มาใส่แปรงและติดถังใส่น้ำยา เมื่อต้องการให้น้ำยาไหล  ก็ดึงก้านบังคับน้ำยาให้ไหลออก สวิงซ้าย-ขวา ไปมาและใช้เครื่องดูดน้ำดูดฟองขึ้นมา ใช้พัดลมเป่ารอให้แห้ง    

     

ข้อดีคือ

ใช้งานง่ายหาได้ทั่วไปราคาไม่แพงไม่ต้องเสียเวลาในการ Setup เครื่องมือ

 

ข้อเสียคือ

1.1 เมื่อปล่อยน้ำยาลงบนพรม หลังจากขัดไปแล้วใช้เครื่องดูดน้ำดูดฟองขึ้นมาเท่านั้น ไม่มีการ Rinse ล้างด้วยน้ำสะอาด รอยเปื้อน คราบสกปรกที่หลุดออกมาก็จะติดอยู่บนพรมเกิดการสะสมในพรมเมื่อแห้งรอยเปื้อนจะชัดขึ้น หากรอยเปื้อนจุดใหญ่ และฝังลึกรอยนั้นจะขยายวงใหญ่กว่าเดิมเนื่องจากแปรงพาไป
  
1.2 โดยธรรมชาติของแชมพูต้องมีฟองมาก  เมื่อไม่ล้างน้ำสะอาด (Rinse) คราบน้ำยากที่ตกค้างอยู่ก็จะเกิดเป็นสภาพเหนียวเหมือนสระผมแล้วไม่ล้างออก การเหนียวเป็นเหมือนแม่เหล็กดูดสิ่งสกปรกที่เกิดจากสัญจรจึงทำให้พรมสกปรกเร็วกว่าวิธีอื่น

1.3 เมื่ออยู่ในห้องกระจกปิดมิดชิด เมื่อเปิดทำงานวันแรกจะเกิดอาการแสบจมูก เนื่องจากสารเคมีในน้ำยาตกค้างเมื่อความชื้นระเหยออกมาบนผิวพรม คราบสกปรกที่ตกค้างอยู่จะปรากฏให้เห็นหลังจากซักได้ 2 -7 วัน เป็นวงเป็นขอบทั่วห้องก็มี จะแก้ไขเฉพาะจุดก็ทำไม่ได้ต้องซักใหม่ทั้งห้อง
 
1.4 เมื่อปล่อยน้ำยามากเครื่องดูดน้ำไม่มีประสิทธิภาพพรมบางชนิด เช่นพรมหลังแข็ง (Axminster) จะเกิดการหดตัวจนกระทั่งดึงไม้หนามที่เกี่ยวพรมหลุดจากการยึดขอบ หากปล่อยน้ำมากอีก พรมบางชนิดจะเกิดเป็นรอยย่นเป็นลอนจนต้องเรียกช่างมาดึงพรมใหม่ 

1.5 พรมบางชนิดเช่นพรมขนตัดปลาย (Cut Pile) แปรงที่ใช้อาจจะทำให้ขนพรมคลายตัว ขนพรมจะหลุดขณะทำการซักเป็นจำนวนมาก

 


 

2. Bonnet วิธีซักพรมแบบแห้ง
 

ในหลักการ คือใช้เครื่องขัดพื้นใส่แผ่นไหมพรม หรือแผ่นไมโครไฟเบอร์ โดยฉีดน้ำยา Bonnet ที่พรมและแผ่นไมโครไฟเบอร์หรือแผ่นBonnet  yarn ใช้เครื่องขัดๆไปบนผิวพรม  เปรียบเทียบวิธีนี้คือการเช็ดบนผิวพรมนั้นเอง เมื่อด้านหนึ่งสกปรก ก็ผลิกอีกด้านหนึ่งเมื่อ 2 ด้านสกปรกก็ไปซักแล้วเอามาใช้ต่อจึงเหมาะสำหรับพรมที่ไม่สกปรกมากเน้นทำบ่อยๆ หัวใจสำคัญอยู่ที่การดูดฝุ่นให้ได้มากที่สุด   
 

             
 

ยังมีการ Bonnet อีกวิธีคือ (Encapsulate) สำหรับวิธีนี้พึ่งมีการใช้มาไม่ถึง 10 ปีนี้เอง ต่างกับวิธีเก่าคือใช้น้ำยาที่มีส่วนผสมนอกจาก Detergent ยังผสม Polymer คือทำความสะอาดแล้วยังห่อหุ้มขนพรมไม่ให้สกปรกเร็วเมื่อ Polymer แห้งจะตกผลึกเป็นเกล็ดเล็กๆ ใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดขึ้นมาหลังจากแห้ง    

ข้อดีคือ
แห้งเร็วใช้เวลาน้อยจึงเหมาะสำหรับสถานที่ที่มีเจ้าหน้าที่ดูแลเป็นประจำเช่น โรงแรม สถานประกอบที่ต้องการให้พรมดูสะอาดสวยงามตลอดเวลา เครื่องมืออุปกรณ์ราคาไม่แพงใช้ผู้ทำการ 1 คนก็เพียงพอ

ข้อเสียคือ
จุดรอยเปื้อนที่ฝั่งอยู่จะปรากฏให้เห็น ไม่มีการล้างน้ำสะอาด (Rinse)


 

3. Dry Foam Shampoo

 

(อาจจะเรียกว่า dry clean ก็ได้ ในหลักของการซักพรมแบบนี้ต้องมีเครื่องทำแชมพูให้เป็นฟองโดยผสมน้ำยา 1ต่อ4- 1ต่อ32 โดยการอัดลมเข้าไปในถังที่มีฝาปิด ผสมกับอากาศแล้วจะออกมาเป็นฟองและในจำนวนฟองทั้งหมดนั้นจะมีน้ำผสมอยู่ 10%โดยประมาณ ใช้แปรงชนิดทรงกระบอกหรือแปรงกลมขัดไปมา  เครื่องบางชนิดอาจจะดูดฟองกลับมาด้วย ระบบนี้จะลึกลงจากผิว 2-5 มิลลิเมตร จะมีปัญหาตรงที่รอยเปื้อนสะสมเช่น ทางเดิน หน้าประตูเข้า-ออก ใต้โต๊ะ บริเวณที่ Check out เมื่อสกปรกมากจึงต้องปล่อยฟองมากบริเวณนั้นอาจจะชุ่มไปด้วยฟอง    

ข้อดีคือ
ใช้ง่ายแห้งเร็ว

ข้อเสียคือ
เช่นเดียวกับระบบ Bonnet   Chem-dry และ Capture  ก็จัดอยู่ในระบบนี้


 

4. เครื่องซักพรมแบบ Extraction

   หากใช้น้ำร้อนซักเรียก Hot water  extraction / stream clean คือระบบซักเปียก(Deep Clean) เป็นระบบที่ดีและได้ผลที่สุด ใช้กับมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง   เป็นระบบที่สมบูรณ์ในตัวของมัน

                    

Spray extraction  /   Portable hot water extraction   /  Truck mount hot water extraction

 

ข้อดีคือ
ดูภาษาอังกฤษตัวย่อ4ตัวนี้ =T.A.C.T 
T= temperature / heat ความร้อน ช่วยให้เส้นใยคลายตัวสิ่งสกปรกที่เกาะฝั่งแน่นเมื่อเจอความร้อนจะหลุดออกไม่ยาก  ความร้อนช่วยขจัดคราบไขมันที่เกิดจากอาหารเช่นในภัตตาคาร ร้านอาหาร รอยเปื้อนที่เกิดจาก Oil Base , Grease , Tar, body oil หรือหมากฝรั่งที่หนามากๆเมื่อเจอความร้อนจะอ่อนตัวหลุดออกเป็นยางยืดเหลือคราบบางๆ ใช้น้ำยาขจัดคราบหมากฝรั่งนิดหน่อยก็ใช้ได้ หรือเทียนหยดบนพรมก็ใช้ความร้อนขจัดออกได้

A = agitate = soil suspend  คือการขัดหรือกระตุ้นให้สิ่งสกปรกหลุดลอยออกจากขนพรม อาจทำได้หลายวิธีเช่นจะใช้เครื่องขัด Single disc ขัดให้สิ่งสกปรกหลุดออก หรืออาจจะใช้ปั้มแรงดันปานกลางประมาณ300-400 psi  หากเป็นพรมผืนอาจใช้แรงดันสูงกว่านี้ก็ได้ฉีดให้สิ่งสกปรกหลุด แต่ถ้าพรมปูในห้องใช้แรงดันมากกว่านี้จะทำให้น้ำลงถึงแผ่นยางรองพรมด้านล่างเกิดชื้นที่ยางรอง เป็นการยากที่จะแห้งในเวลาอันสั้นได้
C = chemical น้ำยาเคมี   ใช้เพื่อขจัดคราบสกปรกที่ฝั่งแน่นอยู่บนขนพรมหลุดออก (หากเป็นระบบน้ำร้อนก็ใช้น้ำยาน้อยลง เนื่องจากประสิทธิภาพของน้ำยาเพิ่มขึ้นนับร้อย-หลายร้อยเปอร์เซ็นต์ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ)

T = time หรือเวลา คือต้องฉีดแช่ทิ้งไว้ ที่ได้ผลดีที่สุดคือฉีดน้ำยาทิ้งไว้ 10 ถึง 30นาที ทำงานโดยใช้ปั้มฉีดน้ำยาด้วยแรงดัน 200-400 PSI ถ้าเป็นเครื่องขนาดเล็กอาจจะมีแรงดันตั้งแต่ 15 -100 Psi  

อีกขั้นตอนที่สำคัญมากคือ Rinse (ฉีดล้างด้วยน้ำสะอาด) หลังจากขัดแล้วสิ่งสกปรกหลุดออกแล้วต้องใช้น้ำเป็นตัวนำพาสิ่งสกปรกขึ้นมา เครื่องซักพรมระบบ hot water extraction (HWE)จะฉีดด้วยน้ำร้อนและดูดขึ้นมาทันทีก่อนที่จะซึมลงด้านล่าง  เครื่องชนิดใหม่มีแรงดันมากตั้งแต่ 1,000-3,000 psi แต่เอาไปใช้งานไม่เกิน300-400 Psi แรงดันที่กล่าวต้องไม่ใช่แรงดันสูงประเภทไอน้ำละเอียด(Dry Steam)เพราะไม่ช่วยให้พรมสะอาดขึ้นเนื่องจากไม่มีตัวนำพาความสกปรกที่หลุดตามแรงดันปั้มขึ้นมา
ระบบซักที่ดีที่สุดจึงต้องฉีดน้ำหลายลิตร/นาทีบวกแรงดัน300-400 psi บวกด้วยแรงดูด (vacuum lift มีหน่วยวัดเป็น inch of hg/ inch of water ) สเกลสูงเท่ากับแรงดูดยิ่งสูง ดังนั้นเครื่องซักพรมในปัจจุบันจึงอาจจะมีมอเตอร์ดูดตั้งแต่2-4ตัว หากเป็นเครื่องซักแบบ
ใช้เครื่องยนต์เป็นต้นกำลัง(truck mount) ให้นึกถึงรถดุดสิ่งปฏิกูลของกทมว่าแรงดูดมากมายขนาดไหน บ้างก็ว่า9เท่าของเครื่องที่ใช้ไฟฟ้า
 มีความสัมพันธ์กับสิ่งต่อไปนี้ 
แรงดูดสูง=พรมแห้งเร็วขึ้น =ดูดคราบสกปรกได้มากขึ้น=พรมสะอาดมากขึ้น=ระยะเวลาที่จะซักครั้งต่อไปยาวขึ้น =ประหยัดเงินขึ้น
การฉีดล้างด้วยน้ำจำนวนมากฝุ่นก็ติดขึ้นมาจำนวนมากขึ้นด้วย สมมุติว่าเครื่องตัวหนึ่งดูดน้ำขึ้นมาได้ 3ลิตร/นาทีและในน้ำนั้นมีฝุ่นติดขึ้นมา 20 มิลลิกรัม/ลิตร เครื่องชนิดนี้ก็จะซักสะอาดกว่าเครื่องที่ดูดน้ำได้1ลิตร/ นาที จะมีฝุ่นที่ติดขึ้นก็มีเพียง20มิลลิกรัม   ตามกฎแห่งความเป็นจริงที่ว่า  ไม่มีใครซักผ้าที่สกปรกมาก ให้สะอาดได้ด้วยน้ำจำนวนเพียงเล็กน้อย    การลดจำนวนน้ำที่ใช้ในการ Rinse ลง พรมอาจแห้งเร็วขึ้นแต่ขณะเดียวกันก็ไปลดจำนวนน้ำที่ล้างลงไปด้วย คราบสกปรกก็ยังตกค้าง การจะให้คราบสกปรกหมดต้องทำซ้ำหลายครั้ง  ดังนั้นเวลาเป็นสิ่งรอไม่ได้
ข้อดีอีกประการหนึ่งของระบบ Extraction คือเป็นระบบ Deep clean คือฉีดน้ำยาลงลึก 5-10 mm (ขึ้นอยู่กับแรงดันของปั้ม) จึงซักสะอาดกว่าทุกระบบ บางระบบซักเฉพาะผิวเมื่อพรมเริ่มแห้งคราบที่ฝังลึกจะปรากฎให้เห็นอีก  ระบบ Extractionเป็นวิธีซักที่ผู้ผลิตพรมรายใหญ่ที่สุดโลก Shaw industries ได้ทำวิจัยมาแล้วว่า Hot Water Extraction ซักได้สะอาดกว่าทุกระบบ และอีกหลายรายในอเมริการะบุให้ใช้วิธีนี้ องค์กรที่ไม่แสวงหากกำไร CRI  CARPET RUG INSTUTE  WWW.CARPET- RUG .ORG หรือ   IICRC  (Institute of Inspection Cleaning and Restoration Certification) www.iicrc.org แนะนำระบบนี้เช่นกัน
 

 

ข้อเสียคือ

แห้งช้ากว่าระบบอื่น หากเป็นเครื่องขนาดเล็กแรงฉีดปั้มน้อยแรงดูดต่ำชนิดนี้ ดูดสิ่งสกปรกมาได้น้อย บางส่วนยังตกค้างอยู่ ผลคือเท่ากับว่าพรมยังสกปรกอยู่ ต่อไปถ้าเป็นเครื่องขนาดใหญ่ราคาแพงต้นทุนสูง ค่าบริการจึงสูงตามไปด้วย แข่งขันกับระบบอื่นยาก ค่าบำรุงรักษาแพง ทำงานได้ช้ากว่าระบบอื่น ผู้ใช้ต้องมีความชำนาญ ลูกค้าจึงเลือกเป็นทางสุดท้ายต่อเมื่อวิธีอื่นใช้ไม่ได้ผล

 

ตามตารางด้านล่างนี้จากการสำรวจของ Cleanfax Magazine www.cleanfax.com แสดงว่าในประเทศอเมริกาเขาซักพรมด้วยระบบ Hot Water Extraction มากที่สุด คือเริ่มกิจการก็ใช้ hwe บริการลูกค้าเลยและหาเครื่อง hwe มาเพิ่มภายหลังเป็นเปอร์เซ็นต์ตามตารางข้างล่างนี้

 

ตารางการสำรวจ

ปี 2013 ใช้ hot water extraction truck mount      90.11 %

ปี 2013 ใช้ hot water extraction portable            63.60 %

ปี 2014 ใช้ hot water extraction truck mount      91.20 %

ปี 2014 ใช้ hot water extraction portable            66.70 %

ปี 2015 ใช้ hot water extraction truck mount      93.00 %

ปี 2015 ใช้ hot water extraction portable            57.00 %

 

Source: Cleanfax Magazine
Special thanks to clean fax magazine